การเรียนรู้กับการเรียนการสอน
1. การเรียนรู้ (Learning) การเรียนรู้โดยทั่วไป หมายถึง ความสัมพันธ์ต่างๆ
จนถึงขั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือมีความสามารถในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
หรืออาจหมายถึงกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
การเรียนรู้โดยทั่วไปมักเน้นผลที่เกิดจากการกระทำ
2. การสอน (Instruction) หมายถึง การจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการให้การศึกษาและการฝึกอบรมโดยทั่วไป
ถือว่าเป็นหน้าที่ของครูสื่อสาร และวิธีสอน
1. สื่อ ( Medium หรือ Media) สื่อเป็นช่องทางของการสื่อสาร
(Communication) มาจากรากศัพท์ภาษาลาติน หมายถึง
ระหว่าง (Between) หมายถึง สิ่งต่างๆ
ที่เป็นพาหะนำความรู้หรือสารสนเทศ (Information) ระหว่างผู้สื่อกับผู้รับเพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสาร
ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ รูปภาพ สิ่งพิมพ์ คอมพิวเตอร์
ผู้สอนและอื่นๆ ซึ่งเมื่อใช้สิ่งเหล่านี้นำสารเพื่อการเรียนการสอน
เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า สื่อการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน (Instructional
Media) สื่ออาจมีหลายรูปแบบ หรือหลายลักษณะ (Format)แม้แต่สื่อประเภทเดียวกัน ก็อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกัน
สรุปได้ว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง
สิ่งต่างๆ ที่ครูและผู้เรียนนำมาใช้ในระบบการเรียนการสอน
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ตามจุดประสงค์การเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. สาร (Messages) ในกิจกรรมการเรียนการสอนใดๆ ก็ตาม ย่อมมีสาร
หรือเนื้อหาสาระในการสื่อสารการสอน ซึ่งสารดังกล่าวอาจจะเป็นเนื้อหาวิชา
แนวทางการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คำถามเกี่ยวเรื่องที่ศึกษาคำตอบ
หรือคำอธิบายรวมทั้งข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับสารก็คือ สื่อจะเป็นพาหะนำสาร
ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของครูหรือผู้สอนที่จะต้องเลือกสรรสื่อที่ดี
ถูกต้องเหมาะสม สามารถนำสารสู่ผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. วิธีสอน (Instructional
Methods) โดยทั่วไป มักอธิบายในลักษณะของการนำเสนอแบบต่างๆ (Presentation
Forms)เช่น การบรรยาย และการอภิปราย เป็นต้น
วิธีสอนกับสื่อการสอนไม่เหมือนกัน วิธีสอนเป็นลักษณะของกระบวนการที่ใช้ในการสอน
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียน หรือเนื้อหาสาระในการเรียน
ส่วนสื่อเป็นเพียงพาหะนำสารหรือเนื้อหาความรู้ (Information) ระหว่างผู้สื่อกับผู้รับ
เทคโนโลยีเพื่อการเรียน
เทคโนโลยี (Technology) คำว่า เทคโนโลยี อาจให้ความหมายได้ 3 ทัศนะ
ดังนี้
1) เทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นกระบวนการ (Technology as a P
recess) หมายถึง
การประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้อื่นๆ
ในการปฏิบัติภารกิจอย่างมีระบบ
2) เทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นผลผลิต (Technology as P redact) หมายถึง เครื่องมือ (Hardware) และวัสดุ (Software) อันเป็นผลมาจากการประยุกต์ใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
ฟิล์มภาพยนตร์เป็นวัสดุ เครื่องฉายภาพยนตร์เป็นเครื่องมือ
และต่างก็เป็นผลผลิตของเทคโนโลยี
3) เทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นทั้งกระบวนการและผลิตผล (Technology as a
Mix of Process and Product) เป็นการกล่าวถึง เทคโนโลยีในแง่ (1) การใช้วิธีการ และเครื่องมือหรือวัสดุร่วมกันในเวลาเดียวกัน (2) การใช้เครื่องมือและวิธีการแยกจากกันในเวลาเดียวกัน เช่น
เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ เป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กับวัสดุ (Software หรือ Program) อย่างสัมพันธ์กัน
เทคโนโลยีการสอนได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการพัฒนาการเรียนการสอนและก่อให้เกิดวิธีหรือแนวปฏิบัติใหม่ๆ
หรือที่เรียกว่า นวกรรมการสอนขึ้นมาหลายรูปแบบ เช่น การสอนแบบโปรแกรม (Programmed
Instruction) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer - Based
Instruction : CB) การสอนโดยใช้ระบบเสียง (Audio-tutorial
Systems)
เทคโนโลยีการสอนบางลักษณะจึงเป็นการใช้สื่อโสตทัศน์และหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งสิ่งพิมพ์ต่างๆ
ร่วมกันในลักษณะของสื่อประสม (Miltie media) แต่เทคโนโลยีการสอนจะมีลักษณะเฉพาะ
ที่แตกต่างไปจากการใช้สื่อการเรียนการสอนแบบธรรมดา
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่า
สื่อและเทคโนโลยีการสอน สนับสนุนยุทธวิธีเบื้องต้นของการเรียนการสอนได้หลายประการ
ที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
ใช้สื่อ/เทคโนโลยีช่วยการสอนของครู
การใช้สื่อลักษณะนี้เป็นวิธีที่เรารู้จักและคุ้นเคยมากที่สุด
โดยครูนำสื่อมาใช้เพื่อช่วยการสอน
การใช้สื่อในลักษณะนี้จะช่วยให้การสอนสัมฤทธิ์ผลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความสามารถของครู
ดังนั้น ถ้าครูจะนำสื่อมาใช้ช่วยในการสอน
ครูจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีเกี่ยวกับหลักสูตร
ระบบการสอนและเทคนิคต่างๆ ในการใช้สื่อ รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
สื่อช่วยผู้เรียนฝึกทักษะและการปฏิบัติได้
เป็นการจัดสื่อไว้ในลักษณะห้องปฏิบัติการ
โดยผู้เรียนเป็นผู้ใช้ภายใต้การชี้แนะของครู เช่น การใช้ห้องปฏิบัติการทางภาษา
การเรียนจากบทเรียนโปรแกรม ตลอดจนการฝึกปฏิบัติอื่นๆ
และการทำแบบฝึกหัดหรือการค้นคว้าด้วยตนเอง เป็นต้น
ช่วยการเรียนแบบค้นพบ
สื่อการสอนสามารถช่วยการจัดการเรียนการสอนแบบค้นพบหรือการสอนแบบสืบเสาะ (Inquiry
Approach) ได้เป็นอย่างดี เช่น การใช้วิดีโอช่วยสอนวิทยา
ศาสตร์กายภาพ เพื่อให้ผู้เรียนเฝ้าสังเกตภาพและเนื้อหา
จนสามารถค้นพบข้อสรุปหรือหลักการต่างๆ ได้
สื่อช่วยจัดการเกี่ยวกับการสอน
สื่อการเรียนการสอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนกับผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์หรือมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น
ดังนั้น สื่อและเทคโนโลยี จึงทำให้บทบาทของครูเปลี่ยนไปจากการเป็นผู้บอกความรู้
มาเป็นผู้จัดการและร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนทำให้สามารถ
จัดรูปแบบการเรียนการสอนขึ้นมาหลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียน
ปัญหาและสื่อต่างๆ ที่จัดขึ้นมาเพื่อการเรียนการสอนนั้นๆ เช่น
1) การสอนแบบเอกัตบุคคล
2) การสอนแบบกลุ่มเล็ก
ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการสอนแบบใด
ครูก็สามารถใช้สื่อและเทคโนโลยีเข้าช่วยในการจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี
นอกจากนั้นครูยังสามารถกำหนดเวลาและกิจกรรมการเรียนได้อย่างเหมาะสม
ตามลักษณะของสื่อที่นำมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นๆสื่อ/เทคโนโลยีในการสอนแบบเอกัตบุคคล
การสอนแบบเอกัตบุคคลเป็นวิธีสอนที่กำลังได้รับความสนใจกันมากในปัจจุบัน
การสอนแบบนี้มุ่งให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเอง
หรือเรียนเป็นรายบุคคลภายใต้คำแนะนำหรือการชี้แนะของครู
โดยอาศัยระบบสื่อที่จัดขึ้นไว้ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนตามจุดมุ่งหมายของการสอน
ช่วยการศึกษาพิเศษ
สื่อการสอนสามารถจัดขึ้นมาเพื่อช่วยให้การศึกษาแก่คนพิการได้เป็นอย่างดี
เรียกว่าสื่อช่วยในการจัดการศึกษาพิเศษได้
สื่อการสอนกับการศึกษานอกระบบ
จากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และความรู้ทางวิชาการ
สื่อการสอนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการให้การศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในหรือ
นอกห้องเรียน ตลอดจนการศึกษาแบบทาง
การสื่อสารและการเรียนรู้
วิธีการการสื่อสาร แบ่งออกได้ 3 วิธี คือ
1.1 การสื่อสารด้วยวาจา หรือ
"วจภาษา" (Oral Communication) เช่น การพูด
การร้องเพลง เป็นต้น
1.2 การสื่อสารที่มิใช่วาจา หรือ
"อวจนภาษา" (Nonverbal Communication) และการสื่อสารด้วยภาษาเขียน
(Written Communication) เช่น การสื่อสารด้วยท่าทาง
ภาษามือและตัวหนังสือ เป็นต้น โปสเตอร์ สไลด์ เป็นต้น
หรือโดยการใช้สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น ลูกศรชี้ทางเดิน เป็นต้น
2. รูปแบบของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
2.1 การสื่อสารทางเดียว (One -
Way Communication) เป็นการส่งข่าวสารหรือการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว
โดยที่ผู้รับไม่สามารถมีการตอบสนองในทันที (immediate response) ให้ผู้ส่งทราบได้ แต่อาจจะมีปฏิกิริยาสนองกลับ (feedback) ไปยังผู้ส่งภายหลังได้
การสื่อสารในรูปแบบนี้จึงเป็นการที่ผู้รับไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ทันที
จึงมักเป็นการสื่อสารโดยอาศัยสื่อมวลชน เช่น การฟังวิทยุ หรือการชมโทรทัศน์
เหล่านี้เป็น
2.2 การสื่อสารสองทาง (Two-Way
Communication) เป็นการสื่อสารหรือการสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที
โดยที่ผู้ส่งและผู้รับอาจจะอยู่ต่อหน้ากันหรืออาจอยู่คนละสถานที่ก็ได้
แต่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถมีการเจรจาหรือการโต้ตอบกันไปมา
โดยที่ต่างฝ่ายต่างผลัดกันทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกัน เช่น
การพูดโทรศัพท์ การประชุม เป็น
3 ประเภทของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
3.1 การสื่อสารในตนเอง (Intapersonal
or Self-Communication) เป็นการสื่อสารภายในตัวเอง หมายถึง
บุคคลผู้นั้นเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน เช่น การเขียนและอ่านหนังสือ
เป็นต้น
3.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal
Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างคน 2 คน เช่น การสนทนา หรือการโต้ตอบจดหมายระหว่างกัน เป็นต้น
3.3 การสื่อสารแบบกลุ่มชน (Group
Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มชนซึ่งประกอบด้วยคนจำนวนมาก
เช่น การสอนในห้องเรียนระหว่างครูเพียงคนเดียวกับนักเรียนทั้งห้อง
หรือระหว่างกลุ่มชนกับบุคคล เช่น
กลุ่มชนมาร่วมกันฟังคำปราศรัยหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น
3.4 การสื่อสารมวลชน (Mass
Communication) เป็นการสื่อสารโดยการอาศัยสื่อมวลชนประเภทวิทยุ
โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น นิตรสาร หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ
แผ่นโปสเตอร์ ฯลฯ เพื่อการติดต่อไปยังผู้รับสารจำนวนมากซึ่งเป็นมวลชนให้ได้รับข้อมูลข่าวสารเดียวกันในเวลาพร้อม
ๆ หรือ
1. ผู้ส่ง ผู้สื่อสาร หรือต้นแหล่งของการส่ง (Sender, Communicatior or Source) เป็นแหลหรือผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว แนวความคิด ความรู้ ตลอดจนเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือกลุ่มชนก็ได้ ผู้ส่งนี้จะเป็นบุคคลเพียงคนเดียว กลุ่มบุคคลหรือสถาบัน โดยอยู่ในลักษณะต่าง ๆ ได้หลายอย่าง
2. เนื้อหาเรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เช่น ความรู้ ความคิด
ข่าวสาร บทเพลง ข้อเขียน ภาพ ฯลฯ เพื่อให้ผู้รับรับข้อมูลเหล่านี้
3. สื่อหรือช่องทางในการนำสาร (Media
or Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวความคิด
เหตุการณ์ เรื่อราวต่าง ๆ ที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ
4. ผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย (Receiver
or Target Audience) ได้แก่ ผู้รับเนื้อหาเรื่องราวจากแหล่งหรือที่ผู้ส่งส่งมา
ผู้รับนี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน หรือสถาบันก็ได้
5. ผล (Effect) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ส่งส่งเรื่องราวไปยังผู้รับ
ผลที่เกิดขึ้นคือ การที่ผู้รับอาจมีความเข้าใจหรือไม่รู้เรื่อง ยอมรับหรือปฏิเสธ
พอใจหรือโกรธ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นผลของการสื่อสาร
และจะเป็นผลสืบเนื่องต่อไปว่าการสื่อสารนั้นจะสามารถบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายหรือไม่
ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับทัศนคติของผู้รับ สื่อที่ใช้
และสถานการณ์ในการสื่อสารเป็นสำคัญด้วย
6. ปฏิกริยาสนองกลับ (Feedback) เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องจากผลซึ่งผู้รับส่งกลับมายังผู้ส่งโดยผู้รับอาจแสดงอาการให้เห็น
เช่น ง่วงนอน ปรบมือ ยิ้ม พยักหน้า การพูดโต้ตอบ หรือการแสดงความคิดเห็น
เพื่อเป็นข้อมูลที่ทำให้ผู้ส่งทราบว่า
ผู้รับมีความพอใจหรือมีความเข้าใจในความหมายที่ส่งไปหรือไม่ปฏิกริยาสนองกลับนี้คือข้อมูลย้อนกลับอันเกิดจากการตอบสนองของผู้รับที่ส่งกลับไปยัง
องค์ประกอบของการสื่อสารในการเรียนการสอน
1. ผู้ส่งสารในการเรียนการสอน คือ
ผู้สอน ครู วิทยากร หรือผู้บรรยาย
2. เนื้อหาความรู้
ที่ส่งให้แก่ผู้เรียน ได้แก่
เนื้อหาของวิชาตามหลักสูตรที่กำหนดไว้โดยจะแบ่งไว้เป็นบทเรียน
มีการเรียงลำดับความยากง่ายเพื่อความสะดวกในการนำมาสอน
3. สื่อหรือช่องทางที่ใช้ส่งเนื้อหาความรู้ให้แก่ผู้เรียน
4. ผู้รับสารในการเรียนการสอน ได้แก่
ผู้เรียน ซึ่งมีระดับอายุ สติปัญญา
และความรู้พื้นฐานที่แตกต่างกันในแต่ละระดับชั้น
จึงทำให้มีความสามารถในการถอดรหัสแตกต่างกันไปด้วย
5. ผลที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน
หมายถึง
ผลของการเรียนรู้เพื่อแสดงว่าผู้เรียนสามารถเข้าใจสารหรือความรู้ที่รับมาหรือไม่
6. ปฏิกริยาสนองกลับของผู้เรียน
หมายถึง การที่ผู้เรียนตอบคำถามได้หรืออาจจะถามคำถามกลับไปยังผู้สอน
หรือการที่ผู้เรียนแสดงอาการง่วงนอน ยิ้ม หรือแสดงกริยาใด ๆ ส่งกลับ
1. การเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารทางเดียว การให้สิ่งเร้าแก่ผู้เรียนในรูปแบบการสื่อสารทางเดียวหรือในการสื่อสารระบบวงเปิด (Open-Loop System) นี้ สามารถให้ได้โดยใช้การฉายภาพยนตร์ วีดิทัศน์ การใช้โทรทัศน์วงจรปิดในการสอนแก่ผู้เรียนจำนวนมากในห้องเรียนขนาดใหญ่ หรือการสอนโดยใช้วิทยุและโทรทัศน์การศึกษาแก่ผู้เรียนที่เรียนอยู่ที่บ้าน การแปลความหมายของผู้เรียนต่อสิ่งเร้าก่อนจะมีการตอบสนองที่เหมาะสมนั้นนับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งเพราะถ้าขอบข่ายประสบการณ์ของผู้เรียนมีน้อยหรือแตกต่างไปจากผู้สอนมากจะทำให้การเรียนนั้นไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
2. การเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารสองทาง
การให้สิ่งเร้าแก่ผู้เรียนในรูปแบบการสื่อสารสองทงหรือการสื่อสารระบบวงปิด (Closed
Loop System) นี้
สามารถให้ได้โดยการใช้อุปกรณ์ประเภทเครื่องช่วยสอน (Teaching
Machine) หรือการอภิปรายกันในระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
ทั้งนี้เพราะในสถานการณ์ของการสื่อสารแบบนี้
เนื้อหาข้อมูลต่างจะผ่านอยู่แต่เฉพาะในระหว่างกลุ่มบุคคลที่อยู่ในที่นั้น
โดยถ้าเป็นการเรียนโดยการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือการใช้เครื่องช่วยสอน
เนื้อหาความรู้จะถูกส่งจากเครื่องไปยังผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนทำการตอบสนองโดยส่งคำตอบหรือข้อมูลกลับไปยังเครื่องอีกครั้งหนึ่ง
หรือถ้าเป็นการอภิปรายในห้องเรียนผู้สอนและผู้เรียนจะมีการโต้ตอบเนื้อหาความรู้กัน
เป็นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันเช่นเดียวกันการใช้อุปกรณ์การสอนดังกล่าวมาแล้วการใช้การสื่อสารรูปแบบนี้ในการเรียนการสอนมีข้อดีที่สำคัญหลายประการโดยเมื่อผู้รับมีการตอบสนองแล้ว
จะเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ส่งและมีปฏิกริยาสนองกลับส่งไปยังผู้ส่งเดิมซึ่งจะกลายเป็นผู้รับ
o-biW �+h m p � � nor-bidi'>และภายในระบบย่อยก็อาจประกอบด้วยระบบย่อยลงไปอีกได้
- การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ณ
ส่วนใดส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบ ย่อมทำให้มีผลกระทบที่
ต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ (chain of effects) และจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงส่วนอื่นของระบบด้วยความสมดุลจึงเกิดขึ้นได้
หรือในทำนองเดียวกันอาจกล่าวได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของระบบย่อยอันใดอันหนึ่ง
ย่อมสามารถทำให้กระทบกระเทือนถึงระบบที่ใหญ่กว่าได้ด้วยเช่นกัน
4. ทฤษฎีการเผยแพร่
กฤษมันท์ วัฒนาณรงค์ กล่าวว่า
ทฤษฎีการเผยแพร่นั้น
เกิดจากการผสมผสานทฤษฎีหลักการและความรู้ความจริงจากหลายสาขาวิชาที่มีศาสตร์เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่
แต่ละศาสตร์ก็จะมีส่วนประกอบเฉพาะในส่วนที่เป็นนวัตกรรมของศาสตร์นั้นๆ
ผลจากการรวบรวมกระบวนการวิธีการและทฤษีการเผยแพร่ของศาสตร์ต่างๆนำไปสู่การสร้างทฤษฎีการเผยแพร่ขึ้น
การศึกษาถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการเผยแพร่นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
มีสาเหตุสำคัญ 3 ประการคือ
1. ต้องการทราบว่าผลผลิตของเทคโนโลยีการศึกษาเป็นที่ยอมรับหรือไม่
เนื่องจากการปฏิบัติจริงนั้นไม่เหมือนกัน
2. นักเทคโนโลยีการศึกษาสามารถจัดเตรียมในการเผยแพร่งานเทคโนโลยีการศึกษาให้กับกลุ่มผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. นำไปสู่การเผยแพร่นวัตกรรมอย่างเป็นระบบ
สร้างรูปแบบการเผยแพร่และรูปแบบการยอมรับนวัตกรรมขึ้น
การประยุกต์ทฤษฎีมาใช้ในนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
การจัดการเรียนการสอนปัจจุบันได้นำทฤษฎีและหลักการแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะต่างๆมาใช้ร่วมกันอย่างผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพของการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาการใช้วัสดุอุปกรณ์เข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอนได้มีบทบาทอย่างมากในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสอน
ให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่มั่นใจได้ว่าจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 4 ประการ คือ
1. ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแข็งขัน
ด้วยความพึงพอใจและเต็มใจที่จะเรียนรู้
2. ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลัน
ช่วยกระตุ้นผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้ต่อไป
3. ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงด้วยการให้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จเรียนรู้ด้วยความพอใจ
4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย
ไม่เกิดความคับข้องใจ เรียนด้วยความสนใจ พอใจ และไม่เบื่อหน่าย
จากหลักการและแนวคิดข้างต้นจะเห็นว่าการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน
การจัดทำแผนภาพแผนภูมิหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนซึ่งไม่เคยใช้มาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดให้มีการสร้างจัดหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการสอนเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนการจัดให้ครูทำบันทึกการสอนตามลำดับขั้นตอนการสอนของกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งครูไม่เคยทำการบันทึกมาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยสร้างบทเรียนสำเร็จรูปใช้ในการเรียนการสอนอย่างนี้เป็นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาขอเสนอแนวดำเนินการการจัดทำบทเรียนสำเร็จรูป
และบทเรียนโปรแกรม เพื่อใช้ในการเรียนการสอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น